
เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์หลักสูตร
สาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

รู้จักหลักสูตร




หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน ์และวิทยุกระจายเสียง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
หลักสูตรสาขาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้เริ่มทำหลักสูตรตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 โดยมีอาจารย์จากสาขาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ที่ตระหนักว่าการพัฒนาสาขาให้นักศึกษามีทางเลือกในการศึกษาได้ร่วมกันวิเคราะห์SWOTและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการเปิดหลักสูตรสาขาโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า วิชาชีพทางด้านโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง เป็นที่ต้องการในการตลาดงานอย่างสูง และสถานประกอบการยังเน้นถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้จริงของนักศึกษา ทำให้การสร้างหลักสูตรนี้เน้นการปฏิบัติจริง(Hands on)
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติงานโดยเฉพาะการผลิตรายการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงบนระบบเครือข่าย เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียมและอินเทอร์เน็ตทีวี ที่ปัจจุบันมีการขยายตัวของธุรกิจขึ้นเป็นจำนวนมาก
ชื่อหลักสูตร
ชื่อปริญญา
และสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : เทคโนโลยีบัณฑิต(เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ทล.บ. (เทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Technology (Television and Radio Broadcasting Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Tech. (Television and Radio Broadcasting Technology)
จำนวนหน่วยกิต
ที่เรียนตลอดหลักสูตร
122 หน่วยกิต
-
ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ (Producer)
-
เจ้าหน้าที่ควบคุมกล้องโทรทัศน์ / ช่างภาพโทรทัศน์ / ช่างภาพกล้องเดี่ยว (Camera Operator)
-
เจ้าหน้าที่ตัดต่อลำดับภาพและเสียง/เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านเทปโทรทัศน์และระบบตัดต่อภาพ (Editor)
-
เจ้าหน้าที่กำกับภาพ / ผู้กำกับภาพเทคนิค (Technical Video Switcher)
-
เจ้าหน้าที่สร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ (Creative)
-
เจ้าหน้าที่ประสานงานการผลิตรายการโทรทัศน์ / เจ้าหน้าที่ข้อมูล (Co-ordinator)
-
เจ้าหน้าที่กราฟิกคอมพิวเตอร์ (Computer Graphic Design)
-
เจ้าหน้าที่ควบคุมแสงสว่างในสตูดิโอ (Studio Lighting)
-
เจ้าหน้าที่ควบคุมสัญญาณภาพโทรทัศน์ (Camera Control Unit Operator, CCUO)
-
เจ้าหน้าที่เขียนบทโทรทัศน์ (Script Writer)
-
เจ้าหน้าที่ควบคุมการออกอากาศโทรทัศน์ (Master Control Operator
-
เว็บแคสเตอร์ (Webcaster)
-
โปรแกรมไดเรคเตอร์ด้านวิทยุกระจายเสียง (Radio Program Director)
-
เจ้าหน้าที่เทคนิคออกอากาศวิทยุ (Broadcast Radio Technician)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นรีรัตน์ สร้อยศรี
-
ปร.ด.(เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา),ม.พระจอมเกล้าพระนครเหนือ,2553
-
นศ.ม. (นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช , 2554
-
ศษ.ม.(เทคโนโลยีการศึกษา),ม.เชียงใหม่, 2531
-
กศ.บ.(เทคโนโลยีการศึกษา),ม.ศรีนครินทรวิโรฒบางแสน, 2529
อาจารย์ ปริญญา สัญญะเดช
-
วส.ม.วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน , มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , 2544.
-
วท.บ. เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์,วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ
สถานที่จัดการเรียนการสอน
รูปแบบของหลักสูตร
อาคาร เฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา บรมราชินีนาถ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
พื้นที่เทคนิคกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
1. รูปแบบ
หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
2. ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย
3. การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย , นักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
4. ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
จัดการเรียนการสอนโดยตรง
5. การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว